top of page

อาหารไทย นอกจากจะเป็นสิ่งที่ยืนยันความเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยแล้ว ยังเป็นตัวแสดงสะท้อนถึงวัฒนธรรมการกินรวมถึง วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน เราสามารถพบชื่อของอาหารไทยได้ในบทประพันธ์ในอดีตมากมายดังนี้

    มัสมั่นแกงแก้วตา              หอมยี่หร่ารสร้อนแรง

ชายใดได้กลืนแกง              แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา

แกงมัสมั่นไก่ของน้องที่รักของพี่ มีกลิ่นหอมฉุนของยี่หร่า คงมีรสร้อนแรงมากชายใดได้รับประทานเข้าไปแล้ว
จะทำให้เกิดความรักใคร่และความหวังในตัวน้องจนถึงกับเอามือทุบอกตัวเอง และอยากกลับไปรับประทานอีก
 
มัสมั่น หมายถึง ชื่อแกงชนิดหนึ่ง เป็นแกงเผ็ดอย่างมุสลิม ปรุงด้วยเครื่องเทศ
               นพคุณ หมายถึง นางที่รัก, น้องที่รัก
               ยี่หร่า หมายถึง ชื่อเครื่องเทศชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมฉุน
               ภุญช์ หมายถึง กิน, รับประทาน
               ข้อนอก หมายถึง ตีอก

ยำใหญ่ใส่สารพัด             วางจานจัดหลายเหลือตรา

รสดีด้วยน้ำปลา                  ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ

ยำใหญ่ที่มีเครื่องครบครับ จัดวางอยู่ในจานอย่างสุดจะพรรณนาปรุงรสด้วยน้ำปลาญี่ปุ่นทำให้น่าลิ้มลองอย่างยิ่ง
ยำใหญ่ หมายถึง ชื่ออาหารยำแบบไทย ประกอบด้วย
แตงกวา ไข่ต้ม กุ้งต้ม หมูต้ม หนังหมู เห็ดหูหนู หัวผักกาด
ขาว ใบสะระแหน่ ใบโหระพา ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม
หรือหวานก็ได้ เหลือตรา หมายถึง เหลือจะพรรณนา
หรือเหลือคะเนนับ

   ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม          เจือน้ำส้มโรยพริกไทย

โอชาจะหาไหน                         ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง

 

น้องนำตับเหล็กมาลวกแล้วใส่น้ำส้มพร้อมกับโรยพริกไทยลงไป ทำให้มีรสอร่อยมาก ไม่มีที่ไหนนำมาเปรียบกับฝีมือของน้องได้
ตับเหล็ก  หมายถึง ม้ามของหมู
โอชา        หมายถึง รสอร่อย

 

Thai food in literature

บทพระราชนิพนธ์ใน        พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่   ลักษณะคำประพันธ์        แต่งตามกาพย์เห่เรือคือแต่งเป็นโคลงผสมกาพย์ตอนต้นเป็นโคลงสี่สุภาพ ๑    บท ตามด้วยกาพย์ยานี๑๑ ไม่จำกัดจำนวนกาพย์ยานีบทแรกจะเลียนความจากโคลงสี่สุภาพตอนต้น

 

จุดประสงค์ในการแต่ง    

เพื่อใช้เห่ชมฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวยของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
บทเห่นี้มีเนื้อความเป็นบทพรรณนาเกี่ยวกับอาหารที่บรรจงปรุงแต่งอย่าง “ถึงเครื่องถึงรส” สะท้อนถึงฝีมือการปรุงอาหารอย่างหาที่เปรียบได้ยาก ดังจะกล่าวดังต่อไปนี

หมูแนมแหลมเลิศรส          พร้อมพริกสดใบทองหลาง

พิศห่อเห็นรางชา                    ห่างห่อหวนป่วนใจโหย

 

หมูแนมมีรสดีเยี่ยม พร้อมมีพริกสดกับใบทองหลางเคียง พี่มองดูห่อหมูแนมแล้วเห็นสวยงาม แต่ครั้นพอ
พี่ห่างห่อหมูแนม ทำให้หัวใจพี่ปั่นป่วนคิดถึงแต่น้องอยู่ตลอดเวลา
หมูแนม หมายถึง ชื่ออาหารว่างมีหลายแบบ เช่น หมูแนม
              แข็งต้องห่อหมูที่โขลกหรือบดและผสมเครื่องปรุง
              แล้วตามด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น
              เก็บไว้ 3 วันจึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกมารับประทาน
              กับผักและน้ำจิ้ม

 

   นี่คือตัวอย่างของอาหารไทย ที่พบได้ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน อาหารแต่ละชนิดนั้น แสดงให้เห็นว่าคนไทยทำอาหารได้อย่างประณีต อาหารแต่ละชนิดปรุงได้อย่างถึงพริกถึงขิง และอาหารเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นบทประพันธ์ที่ไพเราะขึ้นมา

ที่มา http://thai.satitpatumwan.ac.th/other%20know2.htm

ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ            รสพิเศษใส่ลูกเอ็น

ใครหุงปรุงไม่เป็น                  เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ

 

ข้าวหุงปรุงด้วยเครื่องเทศ มีรสพิเศษเพราะใส่ลูกกระวานลงไป ใครก็หุงไม่ได้อย่างที่น้องตั้งใจทำ
 
ลูกเอ็น หมายถึง ลูกกระวาน
เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ หมายถึง เหมือนกับที่น้องตั้งใจทำ

ความรักยักเปลี่ยนท่า            ทำน้ำยาอย่างแกงขม

กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม    ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น

 

แกงขม หมายถึง เครื่องกินกับขนมจีนน้ำยามีมะระหั่นเป็น
            ชิ้นเล็กๆ แล้วลวกให้สุก
กล หมายถึง เหมือน
อ่อม หมายถึง ชื่อแกงชนิดหนึ่ง คล้ายแกงคั่ว แต่ใส่มะระ มัก
        ใช้แกงกับปลาดุก เรียกว่าแกงอ่อมมะระ หรือแกงอ่อม
        มะระปลาดุก
ด้วยความรักของน้องที่มีต่อพี่ น้องจึงเปลี่ยนมาทำ
น้ำยาอย่างแกงขม เหมือนแกงอ่อมมะระ ซึ่งมีรสกลมกล่อม
ทำให้พี่ต้องชมฝีมือของน้องขาดปาก และคลับคล้ายเห็นหน้า
น้องตลอดเวลา

เทโพพื้นเนื้อท้อง              เป็นมันย่องล่องลอยมัน

น่าซดรสครามครัน                  ของสวรรค์เสวยรมย์

 

แกงปลาเทโพโดยใช้เนื้อท้องที่มีมันมาแกง ดูน่าซดเสียเหลือเกิน คงมีรสอร่อยมาก เปรียบเหมือนอาหารทิพย์
ที่พึงใจ
 
เทโพ หมายถึง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้าย
         ปลาสวายเนื้อมีรสอร่อย มักใช้แกงคั่วส้ม ใส่ผักบุ้ง
         เรียกว่า แกงเทโพ
รสครามครัน หมายถึง รสอร่อยมาก

ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น                  วางถึงลิ้นแดโดย
รสทิพย์หยิบมาโปรย            ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ

 

ก้อยกุ้งปรุงเสร็จแล้วกลิ่นหอมมากราวกับอาหารทิพย์ เมื่อสัมผัสลิ้นอร่อยมากจนแทบขาดใจ ฝีมือปรุงอาหาร
ของน้องจึงไม่มีใครเทียบได้
 
ก้อย หมายถึง อาหารจำพวกเครื่องจิ้ม ทำจากเนื้อปลา
        หรือกุ้งที่ยังดิบ รับประทานกับผักสด
ประทิ่น หมายถึง กลิ่นหอม
แด หมายถึง ใจ

bottom of page