top of page

ใน แต่ละภาคของประเทศไทยมีความแตกต่างทางสภาพแวดล้อมและภูมิภาค รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ดังนั้น อาหารการกินของคนแต่ละภาคจึงต่างกันไปตามแต่วัตถุดิบที่หาง่ายที่นั้นๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

ภาคกลาง
คนไทยภาคกลางนิยมรับประทานข้าวเจ้า เป็นอาหารหลัก  มีกับข้าวหลายอย่างในแต่ละมื้อ โดยทั่วไปจะรับประทานอาหารที่มีรสกลมกล่อม ออกหวานนำเล็กน้อย วิธีปรุงซับซ้อน มีการตกแต่งจานอาหารให้สวยงามน่ารับประทาน อย่างเช่น น้ำพริกลงเรือ ซึ่งเป็นการนำน้ำพริกกะปิมาผัดให้แห้งจัดอย่างสวยงามแล้วรับประทานร่วมกับ เครื่องเคียงต่างๆ เช่น หมูหวาน ไข่เค็ม ปลาดุกฟู เป็นต้น

 

ภาคเหนือ

อาหาร ของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น  น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู  และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ  นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำพืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน อาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจาก หลายกลุ่มชน เช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้นเมือง

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อยู่ห่างไกลทะเลค่อนข้างแห้งแล้ง  คนอีสานจะ         คนอีสานรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก รับประทานพืชผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนเนื้อสัตว์ต่างๆ นั้นได้มาจากสัตว์ซึ่งชาวบ้านเลี้ยงไว้เองในครัวเรือน รสชาติของอาหารค่อนข้างจัด ไม่นิยมอาหารที่มีรสหวาน  รสเปรี้ยวเกินไป ประกอบอาหารด้วยการปิ้งมากกว่าการทอด นอกจากสะดวกแล้วยังไม่ต้องมีอุปกรณ์มากมาย  นอกจากนี้ยังรับประทานแมลงต่างๆ เช่น มดแดง  ตั๊กแตน ดักแด้ แมงกุดจี่ ฯลฯ ที่สามารถหาได้ทั่วไปในธรรมชาติอีกด้วย

 

ภาคใต้
เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด
ลักษณะ ภูมิประเทศ   เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเลผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเลอาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล    อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล  รสชาติของอาหารมีรสจัดกว่าภาคอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปได้แก่ แกงไตปลา แกงเหลือง น้ำบูดู และเนื่องจากรสของอาหารค่อนข้างเผ็ด คนใต้จึงนิยมรับประทานผักสดกับอาหารเป็นเครื่องเคียงเพื่อช่วยรสความเข้มข้น ของแกงต่างๆ

เอกสารอ้างอิง :เสมอพร สังวาสี.  (2549).  อาหารไทยสี่ภาค. กรุงเทพฯ : Health & Cuisine.

 

----------------------------------------------------------------------------------

Culture of food

bottom of page